เมื่อเอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเป็นประธานในพิธีอุทิศพระวิหารกรุงเทพ ประเทศไทยแห่งใหม่เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2023 ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายจึงไม่เพียงมีพระวิหารที่เปิดดำเนินการเป็นแห่งที่ 185 ของโลกเท่านั้น แต่เป็นแห่งแรกในคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
พิธีอุทิศในวันอาทิตย์ดึงดูดวิสุทธิชนยุคสุดท้ายหลายพันคนตลอดวันเมื่อผู้เข้าร่วมพิธีอุทิศพระวิหารสองรอบไม่เพียงนั่งอยู่ทั่วพระวิหารหกชั้นขนาด 48,525 ตารางฟุต และมียอดแหลมหกยอด แต่เข้าร่วมในห้องนมัสการขนาดใหญ่สองห้องและบริเวณอื่นๆ ในอาคารเสริมที่อยู่ติดกับพระวิหารด้วย
- Bangkok-temple-dedication
- Bangkok-Temple-dedication
- Bangkok-Temple-dedication
- Bangkok-Temple-dedication
- WhatsApp-Image-2023-10-26-at-12.01.18-PM.jpeg
- Bangkok-Temple-dedication
- Bangkok-temple-dedication
- Bangkok-temple-dedication
Temple Square is always beautiful in the springtime. Gardeners work to prepare the ground for General Conference. © 2012 Intellectual Reserve, Inc. All rights reserved. | 1 / 2 |
ในการเตรียมพูดที่พิธีอุทิศทั้งสองรอบและถวายคำสวดอ้อนวอนอุทิศในแต่ละรอบ เอ็ลเดอร์ราสแบนด์บอกว่าท่านได้ทบทวนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและประวัติของศาสนจักรในประเทศไทยและทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “สิ่งที่ติดอยู่ในใจข้าพเจ้าคือประเทศและพระวิหารแห่งนี้ถูกโอบอุ้มอยู่ในอ้อมแขนของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวก” เอ็ลเดอร์ราสแบนด์กล่าว
นั่นรวมถึงการอุทิศประเทศไทยเพื่อการสั่งสอนพระกิตติคุณใน ค.ศ. 1966 โดยเอ็ลเดอร์กอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเวลานั้นและประธานศาสนจักรในเวลาต่อมา และการอุทิศอาคารประชุมแห่งแรกของศาสนจักรในประเทศนี้ใน ค.ศ. 1974 โดยเอ็ลเดอร์เดวิด บี. เฮจท์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองด้วย
เอ็ลเดอร์ราสแบนด์แสดงความชื่นชมเป็นพิเศษต่อบทบาทของประธานศาสนจักรสามท่านล่าสุดในการมีพระนิเวศน์ของพระเจ้าในกรุงเทพมหานคร — ประธานฮิงค์ลีย์ผู้พยากรณ์ไว้ใน ค.ศ. 2000 ว่าจะมีพระวิหาร ประธานโธมัส เอส. มอนสันผู้ประกาศสร้างพระวิหารอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2015 และประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันผู้มาเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างพระวิหารเมื่อห้าปีก่อนและมอบหมายให้เอ็ลเดอร์ราสแบนด์ทำพิธีอุทิศในสุดสัปดาห์นี้
ท่านอัครสาวกยกคำพูดจากประธานศาสนจักรหนึ่งในสามท่านมาอธิบายกระบวนการพยากรณ์
ท่านยกคำพูดของประธานฮิงค์ลีย์จากการประชุมกับสมาชิกในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 ว่า “พระเจ้าทรงได้ยินคำสวดอ้อนวอนของเรา พระองค์ทรงนำเราผ่านความยากลำบากมายาวนาน แต่บัดนี้สวรรค์แย้มสรวลให้เราแล้ว ท่านทั้งหลายเป็นผู้บุกเบิกที่นี่ในการผลักดันงานของพระเจ้าในประเทศนี้ และข้าพเจ้าสัญญาว่าหากท่านซื่อสัตย์ เวลาจะมาถึงเมื่อจะมีการสร้างพระวิหารในประเทศไทย”
ท่านยกคำพูดของประธานมอนสันเมื่อครั้งประกาศสร้างพระวิหารกรุงเทพในการประชุมใหญ่สามัญเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 ภาคเช้าวันอาทิตย์ว่า “เช้านี้ข้าพเจ้ามีความยินดียิ่งที่จะประกาศสร้างพระวิหารใหม่สามแห่งในสถานที่ดังต่อไปนี้ อาบิดจัน ไอวอรี่โคสต์, ปอร์โตแปรงซ์ เฮติ, และกรุงเทพฯ ประเทศไทย ช่างมีพรอันน่าอัศจรรย์รอคอยสมาชิกที่ซื่อสัตย์ในพื้นที่เหล่านี้”
และท่านยกคำพูดของประธานเนลสันผู้มาเยือนประเทศไทยครั้งแรกสมัยยังเป็นแพทย์ก่อนการเรียกเป็นอัครสาวกใน ค.ศ. 1984 และเป็นผู้นำอาวุโสของศาสนจักรในเวลาต่อมา และเริ่มปฏิบัติศาสนกิจทั่วโลกครั้งล่าสุดใน ค.ศ. 2018 ระหว่างการประชุมกับสมาชิกในกรุงเทพฯ เดือนเมษายน ค.ศ. 2018 ประธานเนลสันสัญญาว่า “ข้าพเจ้าอวยพรท่านให้มีความรักที่บ้าน มีความสำเร็จในหน้าที่การงาน และมีปีติในใจขณะเตรียมรับพระวิหารของพระเจ้าในประเทศศักดิ์สิทธิ์นี้”
- Bangkok-temple-dedication
- Bangkok-temple-dedication
- Bangkok-temple-dedication
- Bangkok-Temple-dedication
- Bangkok-Temple-dedication
- WhatsApp-Image-2023-10-26-at-12.01.18-PM-(1).jpeg
- Bangkok-Temple-dedication
- Bangkok-temple-Dedication
- WhatsApp-Image-2023-10-26-at-12.25.26-PM.jpeg
Temple Square is always beautiful in the springtime. Gardeners work to prepare the ground for General Conference. © 2012 Intellectual Reserve, Inc. All rights reserved. | 1 / 2 |
เอ็ลเดอร์ราสแบนด์เคยเดินทางมากรุงเทพฯ และประเทศไทยหลายครั้งสมัยเป็นผู้บริหารของฮันส์แมนเคมิคอล รวมถึงสมัยเป็นประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการด้วย พิธีอุทิศพระวิหารเป็นงานล่าสุดในงานมอบหมายจำนวนหนึ่งที่ท่านทำสำเร็จลุล่วงในประเทศไทย
ทั้งหมดนั้นทำให้งานมอบหมายนี้เป็นงานที่ท่านซาบซึ้งอย่างยิ่ง ทำให้รู้สึกอ่อนน้อมและ “เหมือนฝัน” เอ็ลเดอร์ราสแบนด์กล่าว
ท่านเข้าร่วมพิธีอุทิศกับซิสเตอร์เมลานี ราสแบนด์ภรรยาของท่าน เอ็ลเดอร์เบ็นจามิน เอ็ม.ซี. ไต สาวกเจ็ดสิบเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่และประธานภาคเอเชีย พร้อมด้วยซิสเตอร์นาโอมิ โทมะ ไต ภรรยาของท่าน เอ็ลเดอร์เควิน อาร์. ดันแคน สาวกเจ็ดสิบเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่และผู้อำนวยการบริหารแผนกพระวิหาร พร้อมด้วยภรรยา ซิสเตอร์แนนซี ดันแคน และเอ็ลเดอร์เอริค ดับเบิลยู. โคพิชกา สาวกเจ็ดสิบเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่และผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารแผนกพระวิหาร พร้อมด้วยภรรยา ซิสเตอร์คริสตีแอน โคพิชกา
พรของพระวิหารกรุงเทพ ประเทศไทยขยายออกนอกเขตแดนประเทศเจ้าบ้าน ท้องถิ่นพระวิหารครอบคลุมตั้งแต่กัมพูชาไปถึงปากีสถานและตั้งแต่เนปาลไปถึงอินโดนีเซีย
ใน ค.ศ. 1852 บริคัม ยังก์เรียกผู้สอนศาสนาสี่คนให้รับใช้ในประเทศไทย ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าสยาม มีเพียงคนเดียวที่มาถึง แต่ไม่ได้มาถึงจนกระทั่ง ค.ศ. 1854 และอยู่ได้เพียงสี่เดือนเท่านั้นเพราะอุปสรรคด้านภาษา
ครอบครัวสมาชิกที่อยู่ในกรุงเทพฯ ในทศวรรษ 1950 เริ่มจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการนานๆ ครั้งจนกระทั่งศาสนจักรอนุญาตให้จัดพิธีนมัสการเป็นประจำใน ค.ศ. 1961 สำหรับกลุ่มนมัสการจำนวนไม่มากที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดต่อเนื่องมานับแต่นั้น
ผู้สอนศาสนาหกคนถูกส่งมาประเทศไทยครั้งแรกใน ค.ศ. 1968 โดยจัดตั้งคณะเผยแผ่ในประเทศใน ค.ศ. 1973 จัดตั้งสเตคแรกในกรุงเทพฯ ใน ค.ศ. 1995 สเตคที่สองตามมาใน ค.ศ. 2014 และสเตคที่สามในอีกสองปีต่อมา

Bangkok-temple-dedication
วิสุทธิชนยุคสุดท้ายพูดคุยและสวมกอดกันหลังเข้าร่วมพิธีอุทิศรอบแรกของพระวิหารกรุงเทพ ประเทศไทย วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 20232023 by Intellectual Reserve, Inc. All rights reserved.สมาชิกภาพศาสนจักรในประเทศไทยเวลานี้มีเกิน 23,000 คนในที่ประชุมกว่า 40 แห่ง อาคารประชุมมีอยู่ทั่วกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ รวมถึงเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี
ชลธิชา “แอปเปิ้ล” สีหนาทเป็นวิสุทธิชนยุคสุดท้ายคนไทยรุ่นที่สอง เธอรับบัพติศมาตอนอายุ 9 ขวบและรับใช้งานเผยแผ่ในประเทศไทย เมื่อมีพระวิหารในประเทศไทย ชลธิชากล่าวว่า “ฉันรู้สึกเหมือนมีบ้านอีกหลังที่มาได้ทุกเมื่อ ฉันรู้สึกว่าจะเกิดความสุขในชีวิตง่ายขึ้นเพราะพระวิหารอยู่ใกล้ครอบครัวฉันมากขึ้น”
อยุทธญภควดี แม็คจอร์จ กล่าวว่าการร่วมพิธีอุทิศพระวิหารจะเปิดโอกาสให้ได้รับการเปิดเผยส่วนตัวเพิ่มขึ้น “ฉันได้รับความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่าเราต้องแบกพันธสัญญาข้ามกระแสน้ำของชีวิต” เธอกล่าว
ภาวนา ปรีชากุล อายุ 14 ปีเพิ่มเติมว่า “พระวิหารศักดิ์สิทธิ์มากสำหรับฉันและครอบครัว ในอนาคตฉันอยากอยู่ในพระวิหารนี้และรับใช้ที่นี่”
ปริญญา สุพรรณ อายุ 16 ปีกล่าวว่า “การมีพระวิหารที่นี่และการทำงานพระวิหารให้บรรพชนที่เสียชีวิตแล้วเป็นพรสำหรับผมและสำหรับบรรพชน”