หอสมุดประวัติศาสนจักรอุทิศไว้เพื่ออนุรักษ์และบอกเล่าประวัติศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย อาคารดังกล่าวเปิดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 และต้อนรับผู้เยี่ยมชมมาแล้วหลายพันคนที่สนใจใคร่เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับประวัติศาสนจักรและสมาชิกศาสนจักร
ศูนย์อำนวยความสะดวกขนาด 230,000 ตารางฟุตมีห้าชั้น ประกอบด้วยห้องสมุดสาธารณะ ห้องอ่านหนังสือ และพื้นที่เก็บชุดสะสมด้านประวัติศาสตร์ ได้แก่
- หนังสือ จุลสาร นิตยสาร คู่มือ ฯลฯ 270,000 เล่ม
- บันทึกดั้งเดิมที่ไม่ได้จัดพิมพ์ 240,000 ชุด (บันทึกส่วนตัว อนุทิน จดหมายโต้ตอบ บันทึกการประชุม ฯลฯ)
- ปิตุพรสำหรับสมาชิกศาสนจักร 3.5 ล้านคน
- ชุดภาพถ่ายสะสม 13,000 ชุด
- {nb}เทปบันทึกเสียงและภาพ 23,000 ชุด
1 / 2 |
บางรายการเหล่านี้มีอยู่ในบริเวณห้องสมุดสาธารณะเช่นกัน ส่วนอีกหลายรายการอยู่ในห้องเก็บเอกสารสำคัญ และนำออกมาให้ผู้เยี่ยมชมใช้ในห้องอ่านหนังสือ ผู้เยี่ยมชมมักจะใช้วัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ค้นคว้าหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หลายคนใช้ชุดสะสมในหอสมุดประวัติศาสนจักรเพื่อเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับบรรพชนชาวมอรมอนหรือประวัติของชาวตะวันตก
อาคารที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลังนี้มีห้องเก็บเอกสารสำคัญสองแบบที่ออกแบบไว้เก็บรักษาสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์ ห้องเก็บหลักๆ 10 ห้องรักษาอุณหภูมิไว้ที่ 55 องศาฟาเรนไฮต์โดยมีความชื้นสัมพัทธ์ 35 เปอร์เซ็นต์ มีห้องพิเศษอีกสองห้องรักษาอุณหภูมิไว้ที่ลบสี่องศาฟาเรนไฮต์ไว้เก็บภาพยนตร์ฟิล์มสี ภาพถ่าย และบันทึกที่สำคัญเป็นพิเศษต่อศาสนจักร
นอกจากบริเวณที่สาธารณชนเข้าได้และห้องเก็บแล้ว อาคารหลังใหม่ยังมีพื้นที่สำหรับการอนุรักษ์ การพัฒนาชุดสะสม และการวิจัยด้วย งานอนุรักษ์ของศาสนจักรเกี่ยวข้องกับเอกสารและหนังสือ 300 ถึง 500 เล่มและเทปบันทึกภาพและเสียง 3,000 ถึง 4,000 เทปทุกปี เจ้าหน้าที่พัฒนาชุดสะสมได้ชุดสะสมใหม่ๆ 500 ถึง 700 ชุดมาทำเป็นแคตตาล็อกทุกปี รวมทั้งสิ่งพิมพ์ 6,000 เล่ม อาคารหลังใหม่มีพื้นที่สำนักงานสำหรับพนักงานและอาสาสมัครที่รับผิดชอบสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื้อหาเว็บ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น งานเอกสารของโจเซฟ สมิธ
หอสมุดประวัติศาสนจักรได้รับหนังสือรับรองสีเงินผ่าน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) และเพื่อให้ได้ป้าย “สีเขียว” อาคารต้องใช้ความร้อนและไฟฟ้าน้อยลง มองเห็นทัศนียภาพภายนอกมากขึ้นโดยมีหน้าต่างใกล้บริเวณที่คนทำงาน อยู่ใกล้ขนส่งมวลชนและใช้วัสดุที่ผลิตในท้องถิ่นซึ่งรีไซเคิลได้ หรือปล่อยก๊าซที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนน้อยลง
{nb}