หัวข้อ

การเดินทางของผู้บุกเบิก

การอพยพของมอรมอนในศตวรรษที่ 19 เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1846 ที่อิลลินอยส์ ผ่านไอโอวา เนบราสกา และสุดท้ายมาถึงที่หลบภัยในเทือกเขาร็อกกี การอพยพครั้งนี้เป็นเหตุการณ์น่าทึ่งที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์การอพยพครั้งใหญ่ไปทางตะวันตกของสหรัฐ ไม่เหมือนผู้บุกเบิกหลายพันคนที่หลั่งไหลไปทางตะวันตกของแคลิฟอร์เนียและโอเรกอนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ผู้บุกเบิกมอรมอนสมัครใจอพยพ—เนื่องด้วยถูกเพื่อนบ้านที่ไม่เป็นมิตรขับไล่ออกจากอิลลินอยส์และมิสซูรี ในไม่ช้าเส้นทางเดินของผู้บุกเบิกมอรมอนจึงเต็มไปด้วยผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสที่มาจากยุโรป

  • เนื่องด้วยการสังหารโจเซฟ สมิธในปี ค.ศ. 1844 และการเพิ่มแรงกดดันให้ชาวมอรมอนทิ้งเมืองนอวูบริเวณริมฝั่งแม่น้ำมิสซิสซิปปี ไม่นานผู้นำศาสนจักรจึงเห็นว่าพวกเขาจะต้องย้ายอีกครั้ง เดิมทีพวกเขาสร้างที่หลบภัยในบริเวณซึ่งเรียกว่าวินเทอร์ควอเตอร์ส ใกล้โอมาฮา เนบราสกาในปัจจุบัน จากนั้นในปี ค.ศ. 1847 ภายใต้การนำของบริคัม ยังก์ ขบวนเกวียนกลุ่มแรกบ่ายหน้าไปทางตะวันตกสู่เทือกเขาร็อกกีจุดหมายที่ไม่มีใครรู้จัก
  • เมื่อผู้บุกเบิกมอรมอนกลุ่มแรกมาถึงหุบเขาซอลท์เลคในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1847 บริคัม ยังก์มองไปทั่วบริเวณที่สมัยนั้นเป็นทะเลทรายแห้งผากและประกาศว่า “นี่คือสถานที่ถูกต้อง”
  • คริสต์ศักราช 1849 ประธานยังก์ตั้งกองทุนต่อเนื่องเพื่อการอพยพเพื่อช่วยผู้อพยพวิสุทธิชนยุคสุดท้ายที่ยากจน กองทุนช่วยผู้อพยพราว 30,000 คนจากบริติชไอลส์ สแกนดิเนเวีย สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์มาถึงอเมริกา— ผู้อพยพวิสุทธิชนยุคสุดท้ายเกินหนึ่งในสามของทั้งหมดมาจากยุโรปในช่วงนั้น
  • เพื่อลดการใช้เกวียนราคาแพงและพ่อวัว ผู้บุกเบิกราว 3,000 คนจึงใช้รถลากทำจากไม้ราคาถูกที่เบาพอจะลากข้ามทุ่งราบกว้างใหญ่ได้ หนึ่งครอบครัวหรือห้าคนใช้รถลากหนึ่งคัน 18 ถึง 20 คนใช้เต็นท์เดียวกัน รถลากหนึ่งคันลากได้ไม่เกิน 200 ปอนด์—กระเป๋าเดินทางหนักประมาณ 17 ปอนต์ต่อคน{nb}ทุกคณะจัดระเบียบอย่างดี มีผู้นำทางที่ช่ำชองหนึ่งคนเป็นหัวหน้า ตามด้วยเกวียนขนเสบียงที่มีวัวลากอย่างน้อยสี่คัน
  • รถลากกลุ่มแรกเริ่มออกจากไอโอวาซิตี้ รัฐไอโอวาวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1856 พร้อมคณะ 266 คนจากอังกฤษ ตามด้วยคณะที่สองอีก 200 กว่าคนในอีกสองวันต่อมา กลุ่มรถลากสมัยเริ่มแรกเหล่านี้มาถึงหุบเขาซอลท์เลคสำเร็จ แต่การเดินทางไม่ง่ายเลย บันทึกส่วนตัวของผู้บุกเบิกพูดถึงสภาพอากาศที่เลวร้าย การข่มขู่ของชาวอินเดียนแดงที่ไม่เป็นมิตร การเสียชีวิตของเพื่อนร่วมทาง และความลำบากไม่หยุดหย่อนจากความหิวและความเหนื่อยล้า
  • เรื่องเศร้าเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1856 หลังจากคณะรถลากวิลลีและมาร์ตินออกเดินทางปลายฤดูโดยมีผู้บุกเบิก 1,000 คนอยู่ระหว่างสองคณะนี้ ทั้งสองคณะเดือดร้อนมากเพราะความยากลำบากและขาดเสบียงอาหาร รวมไปถึงพายุหิมะต้นฤดูที่เปลี่ยนเป็นพายุร้ายแรงที่สุดของศตวรรษ คณะที่เหนื่อยล้าตั้งค่ายในหิมะลึกบนทุ่งราบไวโอมิง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 200 กว่าคนเนื่องจากความอดอยากและความหนาวเย็น การพยายามช่วยชีวิตครั้งใหญ่เกิดขึ้นทันทีเมื่อข่าวสถานการณ์ไม่สู้ดีของพวกเขามาถึงซอลท์เลคซิตี้
  • สรุปคือ ไม่ว่าจะมาโดยเกวียนหรือรถลาก ผู้บุกเบิกมอรมอนหลายพันคนก็เสียชีวิตระหว่างทาง บุคคลอันเป็นที่รัก รวมทั้งบุตรหลาน มักถูกฝังในหลุมตื้นๆ ซึ่งไม่มีโอกาสไปเยือนอีกเลย
  • ภายใต้การกำกับดูแลของบริคัม ยังก์ วิสุทธิชนยุคสุดท้ายประมาณ 70,000 คนเดินทางอย่างยากลำบากมาถึงยูทาห์ตั้งแต่ ค.ศ. 1847 จนกระทั่งทางรถไฟข้ามทวีปแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1869 ประสบการณ์โดยรวมของผู้บุกเบิกส่งผลอันยั่งยืนต่ออัตลักษณ์ของชาวมอรมอน มีผู้ยกย่องและมักจะพูดถึงบรรพชนผู้บุกเบิกที่เดินทางด้วยความลำบากไม่เฉพาะในการชุมนุมครอบครัวของลูกหลานเท่านั้นแต่ในการประชุมของสมาชิกศาสนจักรเช่นกัน คนเหล่านั้นมองว่าแบบอย่างความกล้าหาญและการเสียสละของผู้บุกเบิกเป็นแรงบันดาลใจ

หมายเหตุแนวทางการเขียน:เมื่อรายงานเกี่ยวกับศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย โปรดใช้ชื่อเต็มของศาสนจักรในการอ้างถึงครั้งแรก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ชื่อของศาสนจักร ไปที่ออนไลน์แนวทางการเขียน.