องค์กรการกุศลแอลดีเอส โปรแกรมเพื่อมนุษยธรรมระดับสากลของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย (แอลดีเอส) มีประวัติอันยาวนานในประเทศไทยโดยมีจุดเริ่มต้นที่ผู้ลี้ภัยที่พนัสนิคม อำเภอที่อยู่ทางด้านเหนือของจังหวัดชลบุรีในภาคตะวันออกของประเทศไทย
เมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลงในปี 1975 ผู้ลี้ภัยจากประเทศกัมพูชา ลาวและเวียดนามเริ่มหลบหนีภัยการเมืองจากฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าสู่ประเทศไทย เนื่องจากจำนวนผู้ลี้ภัยสูงมากและความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้มีจำกัด ประเทศไทยจึงแก้ปัญหาด้วยการรวบรวมผู้ลี้ภัยไว้ในค่ายจนกว่าพวกเขาจะย้ายแหล่งลี้ภัยหรือกลับประเทศบ้านเกิด
ในปี 1980 เอ็ลเดอร์แมเรียน ดี. แฮงค์ส ซึ่งรับใช้เป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของศาสนจักรในโควรัมที่หนึ่งของสาวกเจ็ดสิบ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหารระดับสูงของเอเชียใต้ ท่านตระหนักดีว่าศาสนจักรมีชื่อเสียงดีในด้านการเผยแผ่ศาสนาอย่างแข็งขันแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในด้านงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรม ในประเทศไทยชาวคริสต์ได้สร้างโรงเรียนและโรงพยาบาลมากมาย เอ็ลเดอร์แฮงค์สรู้สึกอย่างแรงกล้าว่าศาสนจักรต้องเป็นที่รู้จักยกย่องสำหรับความเต็มใจในงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรม
- Highlight stories of 2017
- แอลดีเอสเริ่มงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมด้วยความรัก
- แอลดีเอสเริ่มงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมด้วยความรัก
- แอลดีเอสเริ่มงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมด้วยความรัก
- แอลดีเอสเริ่มงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมด้วยความรัก
- แอลดีเอสเริ่มงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมด้วยความรัก
- แอลดีเอสเริ่มงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมด้วยความรัก
- แอลดีเอสเริ่มงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมด้วยความรัก
- แอลดีเอสเริ่มงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมด้วยความรัก
1 / 2 |
หลังจากการช่วยเหลื่อครั้งแรกที่ค่ายผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่แห่งใหม่ซึ่งสร้างอยู่ที่ 150 กม. ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพถูกปฏิเสธ เอ็ลเดอร์แฮงค์สพบกับสุภาพบุรุษชาวสวิสที่เต็มใจจะรับฟังโครงการของท่าน หลังจากรับประกันเป็นส่วนตัวว่าอาสาสมัครแอลดีเอสจะไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่ศาสนา ประตูก็เปิดสำหรับการเริ่มงานที่ค่ายแห่งใหม่นี้ซึ่งรู้จักกันในนามค่ายผู้ลี้ภัยพนัสนิคม ใกล้อ่าวไทย
เอ็ลเดอร์แฮงค์สคัดเลือกเจ้าหน้าที่ผู้มีความสามารถสูงเยี่ยม 12 คน มาเริ่มงานในค่ายผู้ลี้ภัย โดยแต่ละคนมีทักษะด้านภาษา รวมทั้งประสบการณ์ด้านวัฒนธรรมต่างๆ กันและเต็มใจรับใช้ หน่วยงานนี้เรียกว่าหน่วยบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสวัสดิการผู้ลี้ภัยในประเทศไทย (Welfare Services for Refugees in Thailand (WSURT)) อาสาสมัครส่วนใหญ่ทำงานที่นั่นนานหกเดือน ในปี 1981 เอ็ลเดอร์ฟลอยด์และซิสเตอร์แคธรีน โฮแกนมีส่วนร่วมในงานนี้กับพี่น้องสตรีบางคนและผู้สอนศาสนาสามีภรรยาอาวุโสบางคู่ โดยทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานในค่าย พวกท่านทำงานนี้จนถึงเดือนเมษายน 1982 ซึ่งเป็นเวลาที่พวกท่านเดินทางกลับรัฐยูท่าห์เพื่อเตรียมตัวรับใช้เป็นประธานคณะเผยแผ่ในประเทศไทย ขณะที่จำนวนผู้สอนศาสนาที่รับใช้ในค่ายพนัสนิคมลดลงเช่นเดียวกับจำนวนผู้ลี้ภัย โปรแกรมที่เริ่มต้นในประเทศไทยก้าวหน้าต่อไปอีกสิบปีและขยายออกไปสู่ฮ่องกงและฟิลิปปินส์
งานส่วนใหญ่ของอาสาสมัครเหล่านี้คือการสอนผู้ลี้ภัยให้รู้จักสิ่งต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะไปอยู่อาศัยในอีกประเทศหนึ่งในที่สุด พวกเขาสอนผู้ลี้ภัยให้รู้จักวิธีใช้สิ่งต่างๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (แพมเพอร์ส) เตียง เตา (เตาแก๊ส?) ตู้เย็น ฯลฯ พวกเขาสร้างบ้านตัวอย่างและสาธิตให้ผู้ลี้ภัยรู้จักการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน นี่คือการเริ่มต้นของสิ่งที่กลายมาเป็นงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยธรรมของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย
ซิสเตอร์นาทาลี จอห์นสัน อาสาสมัครผู้รับใช้ในค่ายพนัสนิคมเมื่อปี 1987 ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่เกลนเดล แอริโซนา แบ่งปันข้อความจากบันทึกประจำวันส่วนตัวว่า “เป็นงานที่เหนื่อยแต่ดิฉันมีความสุขที่ได้ทำ” ไม่นานมานี้เธอกล่าวว่า “ดิฉันทำงานหนักและนานที่ค่ายนั้นยิ่งกว่าช่วงเวลาใดในงานเผยแผ่ของดิฉัน เราทำงานหนักแต่ก็มีความสนุกสนานไม่น้อยด้วย ดิฉันได้รับมากมายจากประสบการณ์การรับใช้ในค่ายผู้ลี้ภัย ดิฉันสร้างมิตรภาพที่แท้จริงกับหลายคน ดิฉันได้รับความกรุณาและความเอื้อเฟื้อ ดิฉันเรียนรู้เรื่องการประนีประนอมและความเข้มแข็งเมื่อเผชิญเรื่องท้าทายที่อยู่นอกเหนือจินตนาการใดๆ จากผู้คนมากมายที่พบในค่าย ดิฉันเรียนรู้ที่จะสำนึกคุณมากขึ้นและเข้าใจลึกซึ้งขึ้นในพลังแห่งการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ที่จะเยียวยาจิตวิญญาณที่บาดเจ็บ”
ซิสเตอร์จอห์นสันกับเด็กสาวจากชั้นเรียนของเธอในค่ายพนัสนิคมนอกจากนี้เธอยังแบ่งปันข้อความจากบันทึกประจำวันเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 1987 ขณะทำงานในค่ายว่า “ในชั้นเรียนวันนี้ ดิฉันใช้เวลาในการถามคำถาม คำถามข้อหนึ่งที่ถามชั้นเรียนตอนบ่ายคือ ‘ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรได้สักอย่างในค่ายนี้ เธอจะเปลี่ยนอะไร’ ชายคนหนึ่งตอบว่า ‘ผมจะเป็นชาวต่างชาติ – คุณต้องออกจากบ้านและไปบ้านทุกคืน’ ในชั้นเรียนตอนเช้า ดิฉันถามชายอายุ 33 ปี คนหนึ่งว่า ‘อะไรคือสิ่งที่ยากที่สุดที่คุณเคยทำ’ เขาตอบว่า ‘สิ่งที่ยากที่สุดของผมคือเมื่อคอมมิวนิสต์เข้ามาในเมืองของผมที่ประเทศกัมพูชาแล้วบังคับทุกคนให้ไปอยู่นอกเมือง ขณะผมอาศัยอยู่ในเมืองผมเป็นช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นแต่นอกเมืองผมต้องทำการเกษตร’”
ซิสเตอร์จอห์นสันกล่าวถึงความรู้สึกครั้งนั้นว่า “เป็นเวลาหลายปีที่ดิฉันไม่เคยลืมคำตอบของชายคนนั้นเรื่องต้องการเป็นบุคคลที่ต้องออกจากบ้านและไปบ้านทุกคืน เราระลึกถึงความสำนึกคุณอยู่บ่อยๆ สำหรับเรื่อง “ใหญ่ๆ” อย่างการอาศัยอยู่ในประเทศเสรี มีสุขภาพดี และเจริญรุ่งเรือง แต่คำตอบนั้นเตือนดิฉันให้สำนึกคุณสำหรับบางสิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดาๆ อย่างเรื่องที่เราสามารถเดินผ่านประตูบ้านของเราเองได้ในตอนสิ้นวัน”
ค่ายพนัสนิคมปิดลงในปี 1990 เอ็ลเดอร์แฮงค์สสรุปประสบการณ์ของท่านว่า “ประสบการณ์เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเป็นเรื่องราวที่เหนือธรรมดาของความเข้มแข็ง ความกล้าหาญ บุคลิกลักษณะ และบ่อยมากที่เป็นเรื่องของความเต็มใจที่จะลุกขึ้นยืนหยัดเพื่อสิ่งที่เราเชื่อและวางชีวิตไว้ในแนวทางเพื่อสิ่งนั้น”
ในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ สมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายพยายามปฏิบัติตามพระดำรัสเตือนของพระผู้ช่วยให้รอดที่ให้เราช่วยให้ผู้หิวโหยได้กิน ให้ผู้กระหายได้ดื่ม ให้คนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน ให้คนเปล่าเปลือยมีเครื่องนุ่งห่มและให้คนป่วยและคนคุกได้รับการเยี่ยม (ดู มัทธิว 25:35-36) ด้วยความพยายามของบุคคล ครอบครัวและโปรแกรมของศาสนจักร ทำให้ผู้ขัดสนหลายล้านคนได้รับความช่วยเหลือทางโลกและทางวิญญาณ
*ขอแสดงความซาบซึ้งต่อ รีด ฮาสลาม อดีตผู้สอนศาสนาในประเทศไทยและเป็นผู้ประพันธ์ “แสงส่องเอเชียอาคเนย์”
คู่สามีภรรยาหนุ่มสาวกับผู้สอนศาสนาอาวุโสที่ค่ายพนัสนิคมในช่วงเวลาคริสต์มาสสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 เสด็จเยี่ยมค่ายฯ ในปี 1984